บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทความวันครู

บทความวันครู

 
ครู  ศิษย์  ถ่ายทอด  แบ่งปัน  ผูกพัน  พอเพียง
                 
 ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าครูมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาบุคลากรให้กับประเทศชาติ ซึ่งบุคลากรเหล่านั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศชาติเกิดความเจริญก้าวหน้า  แต่ก็ยังมีบุคลากรอีกมากเช่นกันที่ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างเพียงพอ  อาจจะเป็นเหตุผลอันเนื่องมาจากความด้อยโอกาสทางสังคม  ฐานะทางเศรษฐกิจ  รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบ  และบุคลากรของประเทศชาติที่ยังไม่ได้รับการศึกษาจึงน่าจะมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันด้วยเพื่อที่จะได้เป็นกำลังเสริมในการที่จะได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศโดยอาจจะเป็นการพัฒนาทั้งทางตรงและทางอ้อม  และอีกอย่างที่ไม่ควรลืมก็คือวัฒนธรรมไทยที่ให้ความเคารพนับถือผู้ที่อาวุโสกว่า ให้ความเกรงใจ  ให้เกียรติ  ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม  ยกตัวอย่างเช่น น้องให้ความเคารพพี่  ลูกให้ความเคารพพ่อแม่  หลานให้ความเคารพญาติผู้ใหญ่  และศิษย์ให้ความเคารพครู ซึ่งโดยภาพรวมก็คือผู้น้อยจะต้องเคารพผู้ใหญ่  แสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยว่ามีความประนีประนอมสูง  มีความยืดหยุ่นสูง  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  มีสัมมาคารวะ  โดยเฉพาะการยกมือไหว้อันเป็นเอกลักษณ์ที่ดีและน่าชื่นชมของคนไทยซึ่งในหลาย ๆ ประเทศ ก็ได้ชื่นชมประเทศไทยตรงจุดนี้  
                สำหรับครูผู้ซึ่งเป็นผู้ที่คอยอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดี  คนเก่ง ของสังคมและประเทศชาติ ก็ควรที่จะได้รับการยกย่องชมเชยเป็นที่สุด  ครูเปรียบเสมือนผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของทุก ๆ อาชีพ  เรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือแม่พิมพ์ของชาติซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่ผู้น้อยจะต้องให้ความเคารพโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิษย์ของครู  เพราะศิษย์เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดครู  รับเอาความรู้ที่ครูถ่ายทอดออกมา  ซึ่งความรู้ที่ถูกถ่ายทอดออกมานั้นอาจจะเป็นความรู้ที่ถูกถ่ายทอดออกจากประสบการณ์ของครู  หรืออาจจะเป็นความรู้ที่ออกมาจากตำราที่ครูได้เรียบเรียงและถ่ายทอดออกมาให้ศิษย์  โดยคำว่าครูในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นครูที่สอนศิษย์แต่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่หมายความถึงครูทุกคนที่คอยให้ความรู้และประสบการณ์ในแต่ละด้าน  ที่เห็นได้ชัดคือ พ่อแม่ ที่ให้การอบรม  สั่งสอน  เลี้ยงดู  ให้คำแนะนำ  ให้คำปรึกษา แก่ลูกในทุก ๆ เรื่อง  ฯลฯ  ส่วนตัวของศิษย์ก็จะต้องเชื่อฟังครู  ทำตัวให้เป็นที่รักของครู  เมื่อครูบอกกล่าว  ตักเตือน  หรือชี้แนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ก็ควรที่จะเปิดใจรับฟังอย่างจริงใจ  ไม่เสแสร้ง  เพราะว่าสิ่งที่ถูกถ่ายทอดออกมาจากตัวครูจะไปสู่ศิษย์ในลักษณะของความจริงใจและเป็นการแบ่งปันโดยไม่มีการหวงความรู้แต่อย่างใด
                ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงคำว่าการแบ่งปัน ก็คือการให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ  การให้เพราะความอยากที่จะให้  ให้แล้วมีความสุขใจ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน  และอาจจะเป็นความคิดที่ว่าสิ่งที่ให้นั้นจะเกิดประโยชน์กับตัวผู้รับมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  และเมื่อศิษย์รับเอาความรู้  ประสบการณ์  คำแนะนำที่ดีจากครู  ศิษย์ก็ควรนำสิ่งเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้และถ่ายทอดให้กับผู้อื่นที่ยังไม่เข้าใจได้รับรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการใช้ชีวิต  เพราะฉะนั้นทั้งครูและศิษย์คือบุคคลที่ร่วมกันถ่ายทอด  แบ่งปัน  สร้างสรรค์  จึงทำให้เกิดเป็นเครือข่ายทางสังคม มีความกลมเกลียว  ผูกพัน  ระหว่างครูกับศิษย์ที่ช่วยทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนา  ทำให้บุคคลได้รับการขัดเกลาทางสังคม  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้  มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  มีเหตุมีผล  เป็นคนดี  คนเก่งของสังคม  ซึ่งจะโยงไปถึงเรื่องของความพอเพียงในสังคมไทย
                ความพอเพียงเป็นสิ่งที่คนในสังคมไทยปัจจุบันจะต้องให้ความสำคัญ  เพราะสังคมที่มีแต่การแก่งแย่งชิงดี  เอารัดเอาเปรียบ  ไม่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันก็จะทำให้สังคมเกิดความขัดแย้ง  เกิดการทุจริตคอรัปชั่น ไม่มีความสงบเรียบร้อย  ประชาชนไม่มีความสุข  จึงได้มีกระแสเรื่องความพอเพียงเข้ามาในสังคมไทยอันเป็นแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ต้องการจะให้คนไทยรู้จักพึ่งพาตนเอง  รู้จักพัฒนาตนเองให้อยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง  ซึ่งองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มนำเอาแนวคิดความพอเพียงมาปรับใช้ในองค์กรของตนเองแล้ว  เนื่องจากว่าที่ผ่านมาองค์กรมุ่งเน้นแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงประชาชนผู้บริโภค  ทำให้องค์กรไม่มีการเจริญเติบโตเท่าที่ควรและไม่ได้รับการยอมรับ  ดังนั้นองค์กรจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของสังคมโดยรวม  จึงให้การแบ่งปันผลประโยชน์กับประชาชนในสังคม เพื่อที่จะทำให้เกิดความผูกพันระหว่างองค์กรกับประชาชนในลักษณะที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน  โดยใช้แนวคิดความพอเพียงที่จะทำให้บุคคล  องค์กร  สังคม  และประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน  ซึ่งการที่บุคคลจะมีความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตนั้น  ขึ้นอยู่กับผู้ที่อบรมสั่งสอนและสร้างให้บุคคลประสบความสำเร็จนั่นก็คือครู

บทความวันเด็ก



การจัดงานวันเด็กในประเทศไทย
Children's Day ปีพุทธศักราช 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้น ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กขึ้นมา
ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่
ขณะนั้น สภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไป คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานนั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ
ดังนั้น ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ประเทศไทยจึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา ทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ. 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคม ประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อมาก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด[ต้องการอ้างอิง]
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบั คำขวัญวันเด็ก
คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญวันเด็กให้ จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ปีนายกรัฐมนตรีคำขวัญ
พ.ศ. 2499จอมพล ป. พิบูลสงครามจงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
พ.ศ. 2502จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ. 2503จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ. 2504จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ. 2505จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ. 2506จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ. 2507จอมพลถนอม กิตติขจรไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508จอมพลถนอม กิตติขจรเด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509จอมพลถนอม กิตติขจรเด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510จอมพลถนอม กิตติขจรอนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511จอมพลถนอม กิตติขจรความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512จอมพลถนอม กิตติขจรรู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ. 2513จอมพลถนอม กิตติขจรเด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ. 2514จอมพลถนอม กิตติขจรยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ. 2515จอมพลถนอม กิตติขจรเยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ. 2516จอมพลถนอม กิตติขจรเด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2517สัญญา ธรรมศักดิ์สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518สัญญา ธรรมศักดิ์เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ. 2519หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชเด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ. 2520ธานินทร์ กรัยวิเชียรรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ. 2521พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
พ.ศ. 2522พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ. 2523พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2524พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ. 2525พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2526พลเอกเปรม ติณสูลานนท์รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ. 2527พลเอกเปรม ติณสูลานนท์รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ. 2528พลเอกเปรม ติณสูลานนท์สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ. 2529พลเอกเปรม ติณสูลานนท์นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2530พลเอกเปรม ติณสูลานนท์นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2531พลเอกเปรม ติณสูลานนท์นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2532พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2533พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณรู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535อานันท์ ปันยารชุนสามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536ชวน หลีกภัยยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537ชวน หลีกภัยยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538ชวน หลีกภัยสืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539บรรหาร ศิลปอาชามุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540พลเอกชวลิต ยงใจยุทธรู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541ชวน หลีกภัยขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2542ชวน หลีกภัยขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543ชวน หลีกภัยมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544ชวน หลีกภัยมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรเรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ. 2547พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรรักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรเด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรอยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ. 2550พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ. 2551พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ. 2552อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
พ.ศ. 2553อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ. 2554อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะรอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ
พ.ศ. 2555ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรสามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

VDO (สื่อเพื่อการเรียนการสอน)


วีดีโอสื่อเพื่อการเรียนการสอน
คอมพิวเตอร์














วันแม่


วันแม่



         วันแม่ เป็นวันที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลกจัดขึ้นเพื่อให้เกียรติแม่และความเป็นแม่ ในประเทศไทยวันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ในประเทศอื่นทั่วโลกวันแม่จะอยู่ในช่วง เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่วนในอังกฤษและไอร์แลนด์วันแม่ถูกจัดขึ้นต่อจากวันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์

ประวัติ
             ในวานเปตรยุคโรมันโบราณมีวันหยุดที่คล้ายกันคือ มาโตรนาเลีย ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงเทพีจูโน เทพีผู้พิทักษ์ ส่วนในยุโรปมีประวัติเกี่ยวกับวันแม่ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น วันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่(Mothering Sunday) ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์ ในสหรัฐอเมริกาได้มีการผลักดันให้มีการฉลองวันแม่ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดย จูเลีย วอร์ด ฮาว โดยมีความเชื่อว่าเพศหญิงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างสังคม วันผู้หญิงนานาชาติได้มีการเฉลิมฉลองครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ในสหรัฐอเมริกา  ซึ่งในเวลาใกล้เคียงกัน แอนนา ยาร์วิสได้เริ่มผลักดันให้มีการเฉลิมฉลองวันแม่ในสหรัฐอเมริกา

วันแม่ในประเทศต่างๆ
ประเทศอื่น ๆ ก็มีการกำหนดวันแม่ไว้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ใช้วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม ประเทศรัสเซียใช้วันที่ 28 พฤศจิกายน เป็นต้น ทั้งนี้บางประเทศมีการเฉลิมฉลองในวันสตรีสากล

         
     ประเทศญี่ปุ่น
             ในญี่ปุ่น ปี 1931 (หรือปีโชวะที่ 6) องค์กร สตรีสูงสุดของญี่ปุ่นได้ตั้ง วันที่ 06 มีนาคม ซึ่งเป็นวันฉลองพระราชสมภพ ของ พระราชินี คาโอรุ มาโคโตะ (Empress Kaoru Makoto) เป็น "วันแม่" ต่อมาในปี 1937 วันที่ 5 พฤษภาคม (หรือปีโชวะที่12 ) และได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อ (ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการกลางให้จัดตั้งวันแม่) ขึ้นใหม่ในปี 1949 (หรือปีโชวะที่24 ) โดยมาจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สองในเดือนพฤษภาคม ตามประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศ
ทั้งนี้ วันเด็ก 5 พฤษภาคม เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (วันหยุดแห่งชาติตามกฎหมาย) "เพื่อให้เด็กได้มีความสุขกับครอบครัวและ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อขอบคุณแม่ที่ทำให้เราได้เกิดมาอีกด้วย
ในวันแม่ ปกติประเทศญี่ปุ่นจะให้ดอกคาร์เนชั่นแต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ไม่เพียงดอกคาร์เนชั่นเท่านั้น แต่ดอกกุหลาบสีชมพูและดอกเยอบิร่า ก็ให้ได้เช่นกัน

              
ประเทศไทย
           ในประเทศไทย เดิมมีการจัดงานวันแม่ โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ในคณะรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม   ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 12 สิงหาคม ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมกับได้กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์แทนวันแม่ เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีสีขาว มีกลิ่นหอมและออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูก




แนะนำตัวเอง

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ เยาวลักษณ์ วัฒวงศ์
กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1  เลขที่ 10
โรงเรียน อำนาจเจริญ อำเภอเมือง จังหวัด อำนาจเจริญ
เกิดเมื่อ 16 เมษายน 2540
ภูมิลำเนา บ้านเลขที่ 254 หมู่ 13 ตำบล บุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
ที่อยู่ปัจจุบัน  บ้านเลขที่ 254 หมู่ 13 ตำบล บุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
สิ่งที่ชอบ การฟังเพลง การอ่านหนังสือทั่วไป
สิ่งที่เกลียด สัตว์เลื้อยคลาน
คติประจำใจ ฝันให้ไกล ไปให้ถึง