บทความที่ได้รับความนิยม

Thai


รายวิชา ภาษาไทย
คำอวยพรปีใหม่
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบัลดาลให้ท่านและครอบครัว มีความสุขความเจริญ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตลอดปี พ.ศ. 2555

เสียงในภาษาไทย


              เสียงในความหมายกว้าง ๆ หมายถึง เสียงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงมนุษย์เสียงสัตว์ หรือเสียงอื่นใดก็ตาม แต่ในการศึกษา เสียง หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน

เสียงในภาษาไทย
              เสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ด้วยกัน คือ เสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์

               เสียงสระ                 หรือเสียงแท้ เกิดจากลมที่ออกจากปอดโดยไม่ถูกอวัยวะใดกีดขวาง

              เสียงพยัญชน                หรือเสียงแปร เกิดจากการลมที่ออกจากปอดแล้วถูกปิดกั้นทางเดิน ของลมให้แคบลง ทำให้ลมผ่านไม่สะดวกจนต้องเสียดแทรกออกมา

               เสียงวรรณยุกต                หรือเสียงดนตรี  เกิดจากเสียงเปล่งออกมาพร้อมเสียงแปรจะมีเสียงสูง ต่ำ ตามการสั่นสะเทือนของสายเสียงอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ปอด หลอดลม กล่องเสียง ลิ้นไก่ ลิ้น เพดานปุ่มเหงือก ฟัน และริมฝีปาก


เสียงสระ
ฐานที่เกิดเสียงสระ
        เสียงสระ เกิดขึ้นโดยอาศัยคอเป็นที่ตั้ง และริมฝีปากหรือลิ้นกระทบอวัยวะในปากเป็นเครื่องช่วย ลิ้นที่ทำให้เกิดเสียงมีอยู่ ๓ ส่วน คือ ลิ้นส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนหลังลิ้นแต่ละส่วนก็ยังสามารถกระดกขึ้นลงได้ ๓ ระดับ  คือ สูง กลาง ต่ำ ถ้าลิ้นกระดกระดับต่าง ๆ เสียงสระที่เกิดขึ้นก็จะต่างกันไปด้วย จากตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นส่วนของลิ้นที่ทำให้เกิดสระ   
 ระดับลิ้น  
 ลิ้นส่วนหน้า
   ลิ้นส่วนกลาง
 ลิ้นส่วนหลัง   
  สูง
กลาง
ต่ำ
 อิ       อี
เอะ      เอ
แอะ     แอ  
   อึ       อือ
เออะ      เออ
อะ       อา   
อุ        อู
โอะ       โอ
เอาะ      ออ  

        รูปสระ
        สระไทย ๒๑ รูป ดังนี้ 
๑.     ะ  วิสรรชนีย์
๘.     "   ฟันหนู  
๑๕.         ตัวออ
๒.      ั  ไม้ผัดหรือไม้หันอากาศ
๙.        ตีนเหยียด  
๑๖.         ตัวยอ
๓.      ็  ไม้ไต่คู้
๑๐.      ตีนคู้
๑๗.  ว        ตัววอ
๔.      ลากข้าง    
 ๑๑         ไม้หน้า
๑๘.  ฤ       ตัวร
๕.        พินท์อิ
๑๒.         ไม้ม้วน
๑๙.  ฤา     ตัวรือ
๖.        ฝนทอง   
๑๓.         ไม้มลาย
๒๐.        ตัวลึ
๗.        นฤคหิต (หยดน้ำค้าง)
๑๔.         ไม้โอ
๒๑. ฦา      ตัว ลือ     

        เสียงสระ     
        เสียงสระในภาษาไทยมี ๒๔ เสียงจำแนกเป็นเสียงเดี่ยวหรือสระแท้ ๑๘ เสียงสระเลื่อน ๖ เสียง
                ๑. สระเดี่ยว หรือสระแท้ มี ๑๘ เสียง ซึ่งมีเสียงสั้นเสียงยาว ๙ คู่ ดังนี้
                        รัสสระ (สระเสียงสั้น)                   ทีฆสระ (สระเสียงยาว)
                           อะ                                                        อา
                           อิ                                                          อี
                           อี                                                          อื   
                           อุ                                                          อู
                           เอะ                                                       เอ  
                           แอะ                                                      แอ  
                           โอะ                                                      โอ  
                          เอาะ                                                      ออ  
                          เออะ                                                     เออ
                ๒. สระเลื่อน หรือสระประสม ในภาษาไทยมี ๖ เสียง คือสระที่มีการเลื่อนระดับของลิ้นจากเสียงหนึ่งไปยังเสียงหนึ่ง
ได้แก่
รัสสระ (สระเสียงสั้น)           ทีฆสระ (สระเสียงยาว)
                                เอียะ (อิ -> อะ)                เอีย (อี -> อา)
                                เอือะ (อื -> อะ)                เอือ (อื -> อา)
                                อัวะ (อุ -> อะ)                 อัว (อู -> อา)
        คำที่มีสระเลื่อนเสียงสั้นมีเพียงไม่กี่คำที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น เกี๊ยะ  เปรี๊ยะ เบื๊อก เอื๊อก ผัวะ ยัวะ ด้วยเหตุนี้นักภาษาศาสตร์บางคนจึงถือว่าภาษาไทยมีสระเลื่อนเพียง ๓ เสียง คือ /เอีย/ /เอือ/ /อัว/

        ข้อพิจารณาเกี่ยวกับเสียงสระ
        ๑. สระบางเสียงใช้อักษรแทนได้หลายรูป เช่น  คำว่า "ไน" อาจเขียนว่า"นัย" หรือ "ใน" คำว่า "กำ" อาจเขียนว่า "กรรม"
        ๒. ในบางคำรูปสระบางรูปไม่ออกเสียง เช่นคำว่า ญาติ  ประวัติ  ในคำว่าเหตุธาตุ
        ๓. ในบางคำมีเสียงสระ /อะ/ แต่ไม่ปรากฏรูป  เช่น สบาย ตลาด หวายอร่อย
        ๔. ไม้ไต่คู้   ใช้แสดงเสียงสั้นแต่คำบางคำเสียงสั้นก็ไม่นิยมใช้ไม้ไต่คู้   เช่น  เพชร เบญจ
        ๕. ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตำแหน่ง
                วางไว้ข้างหน้าพยัญชนะ    เช่น สระ เ-  แ-  ใ-
                วางไว้ข้างหลังพยัญชนะ    เช่น สระ -า
                วางไว้ข้างบนพยัญชนะ     เช่น สระ  -ิ  -ี
                วางไว้ข้างล่างพยัญชนะ    เช่น สระ  -ุ  -ู
                วางไว้ข้างหน้าและข้างหลัง เช่น สระ เ-า
                วางไว้ข้างหน้าและข้างบน  เช่น สระ เ-ีย
        ๖. การใช้สระ มี ๓ ลักษณะ คือ  
                ๑. สระคงรูป    เช่น ใน เสา มี
                ๒. สระลดรูป    เช่น ตก
                ๓. สระเปลี่ยนรูป เช่น มัน เห็น


เสียงพยัญชนะ    
       พยัญชนะ แปลว่า การกระทำเสียงให้ปรากฏชัด หรือเครื่องหมายตัวอักษรที่ใช้แทนภาษาพูด พยัญชนะจะออกเสียงตามลำพังไม่ได้ต้องอาศัยสระ
เสียงพยัญชนะในภาษาไทย
        เสียงพยัญชนะในภาษาไทย มี ๒๑ เสียง (๔๔ รูป)

๑. /ก/  ก
๒. /ค/  ข ค ฆ (ฃ ฅ)
๓. /ง/  ง
๔. /จ/  จ
๕. /ช/  ช ฉ ฌ
๖. /ซ/  ซ ศ ส ษ
๗. /ย/  ญ ย
 ๘. /ด/  ด ฎ
๙. /ต/  ต ฏ
๑๐. /ท/  ท ฐ ถ ฑ ฒ ธ
๑๑. /น/  น ณ
๑๒. /บ/  บ
๑๓. /ป/  ป
๑๔. /พ/  ผ พ ภ
๑๕. /ฟ/  ฟ ฝ
๑๖. /ม/  ม
๑๗. /ร/  ร
๑๘. /ล/  ล ฬ
๑๙. /ว/  ว
๒๐. /ฮ/  ฮ ห
๒๑. /อ/  อ     
(บางตำรานับ ๒๐ เสียง ไม่นับเสียง /อ/)

        สรุปพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง
        ๑. พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ เช่น วิทย์ ศาสน์
        ๒. พยัญชนะซึ่งตามหลังตัวสะกดในบางคำ เช่น พุทธ ภัทร
        ๓. ร หรือ ห ซึ่งนำพยัญชนะตัวสะกดในบางคำ เช่น สามารถ พรหม พราหมณ์
        ๔. ร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอักษรควบไม่แท้ เช่น  จริง เสร็จ โครม  สร้าง โทรม


เสียงวรรณยุกต์  
        เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมามีระดับสูงต่ำต่างกัน ทำให้ความหมายต่างกัน ด้วยซึ่งเป็นเสียงที่เกิดกับเสียงสระและเสียงพยัญชนะวรรค วรรณยุกต์ไทย มี ๕ เสียง ๔ รูป คือ
เสียง   เสียงสามัญ      เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา
 รูป           -                                                                                      
        ในบางคำรูปกับเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน พยัญชนะต้น สระ และตัวสะกดมีความสำคัญต่อการในวรรณยุกต์ไม่น้อยกว่ารูปวรรณยุกต์ ในการเขียนจึงต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย จึงจะใช้วรรณยุกต์ได้ถูกต้อง เช่น โน้ต เชิ้ต เสียงตรีแต่ใช้รูปวรรณยุกต์โทเป็นต้น
        
              ตัวอย่างการผันอักษร     

สามัญ
 เอก 
โท
ตรี
จัตวา
อักษรกลางคำเป็น
กา 
ก่า
ก้า
ก๊า
ก๋า
อักษรกลางคำตาย  
-
กะ
ก้ะ
ก๊ะ
ก๋ะ
อักษรสูงคำเป็น   
-  
ข่า
ข้า
 -   
 ขา      
อักษรสูงคำตาย             
-  
ขะ 
  ข้ะ    
-   
 -  
อักษรต่ำคำเป็น
        คา         
-       
   ค่า     
  ค้า     
-
อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น   
-
ค่ะ
คะ
ค๋ะ   
อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาว
-  
โนต 
โน้ต 
โน๋ต    

        จะเห็นได้ว่าอักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปเสมอ  แต่อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่านั้นอีก เว้นแต่เสียงจัตวาเพราะไม่มีเสียงใดสูงกว่านั้นอีก วิธีผันอักษรสูงและอักษรต่ำให้ครบ  ๕ เสียง ทำได้โดยนำอักษรต่ำคู่ที่มีเสียงคู่กับอักษรมาผันคู่กัน เช่น          


 เสียงสามัญ  
 เสียงเอก
เสียงโท   
เสียงตรี
เสียงจัตวา
อักษรสูง
 -   
ข่า  
ข้า
-
ขา
อักษรต่ำ (คู่)
คา
 -
ค่า
ค้า
-

       ส่วนอักษรต่ำเดี่ยวอาจผันให้ครบทั้ง ๕ เสียงใช้อักษรกลางหรือสูงเป็นตัวนำ เช่น

                   เสียงสามัญ           เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา
  อักษรสูง        อยู่                      อยู่                   อยู้             ยู้               ยู๋
  อักษรต่ำ (คู่)     นี                     หนี่                   หนี้             นี้              หนี





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น