บทความที่ได้รับความนิยม

Science

รายวิชา วิทยาศาสตร์

SCIANCE


        บทคัดย่อ
           โครงงานวิทยาศาสตร์   เรื่อง  สด สวย ด้วยขุยกาบมะพร้าว จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการทำโอเอซิสจากขุยกาบมะพร้าว เนื่องจากโอเอซิสที่มีขายตามท้องตลาดมีราคาแพงและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโฟมซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยากก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม จากการทดลองพบว่าอัตราส่วนของขุยมะพร้าว ต่อดินเหนียว ต่อน้ำ ในอัตราส่วน 3 : 2 : 10 เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุดที่สามารถทำให้ดอกไม้คงความสดอยู่ได้ นานเป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยไม่เหี่ยว และเมื่อนำไปทดสอบเปรียบเทียบกับโอเอซิสที่มีขายตามท้องตลาดพบว่า ในเวลา 24 ชั่วโมง เท่ากัน ให้ผลการทดลองที่ใกล้เคียงกัน แต่หลังจาก 24 ชั่วโมง ไปแล้วโอเอซิสที่มีขายตามท้องตลาดให้ผลการทดลองที่ดีกว่า และเมื่อนำโอเอซิสที่ผ่านการใช้แล้วมาทดลองใช้ใหม่พบว่าโอเอซิสที่ผลิตได้ให้ผลการทดลองที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิมแต่โอเอซิสที่มีขายตามท้องตลาดมีประสิทธิภาพต่ำลงกว่าเดิม จึงสรุปได้ว่าถ้าต้องการรักษาความสดของดอกไม้ ( จากการทดลองใช้ดอกกุหลาบ )ในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมงสามารถใช้โอเอซิสจากขุยกาบมะพร้าวแทนโอเอซิสที่มีขายตามท้องตลาดได้เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกันแต่โอเอซิสจากขุยกาบมะพร้าวย่อยสลายได้ง่ายกว่าและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 
บทที่  1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
โอเอซิสเป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้ในการจัดดอกไม้สดกันเป็นอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากนำไปใช้งานได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วแต่มีข้อเสียคือมีราคาแพงและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโฟมซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยากก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม กาบมะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์นอกจากเผาทิ้งหรือทำเป็นเชื้อเพลิง กลุ่มผู้ทำการทดลองจึงคิดว่าขุยจากกาบมะพร้าวน่าจะนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับปักดอกไม้สดแทนโอเอซิสที่มีขายตามท้องตลาดได้เนื่องจากขุยกาบมะพร้าวมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำได้ดี

การเกิดสุริยุปราคา


สุริยุปราคา
(Solar eclipse)

รูปสุริยุปราคา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550


สุริยุปราคา (Solar eclipse)
ก่อนที่จะรู้ว่าสุริยุปราคาคืออะไร  เกิดได้อย่างไร เกิดขึ้นที่ไหน และเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน  เราจะพูดถึงดวงจันทร์ก่อน ดวงจันทร์ คือ วัตถุที่เป็นหิน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ2,160 ไมล์ หรือ 3,476 กิโลเมตร ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ดวงจันทร์ใช้เวลาโคจรรอบโลกประมาณ 29.5 วัน ขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบ ๆ โลกนั้น เราจะมองเห็นดวงจันทร์มีลักษณะต่าง ๆ กันไปดังนี้ (เราเรียกระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์ว่า phases)

 
รูป moonphases

สุริยุปราคาสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ในขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านโลกและเงาของดวงจันทร์ตกลงบนโลกพอดี เวลานั้นเราจะสามารถเห็นชั้นบรรยากาศบางส่วน ของดวงอาทิตย์ เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก ใช้เวลา 29.5 วัน ดังนั้นทุก ๆ เดือนเราก็น่าจะเห็นสุริยุปราคา แต่ว่ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เอียงประมาณ 5 องศาเทียบกับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เงาของดวงจันทร์จะอยู่เหนือหรือไม่ก็ใต้โลก และจะมีแค่ 2 ปีต่อครั้ง ที่เงาของดวงจันทร์จะตกบนโลก

รูปแสดงการเกิดเงาของดวงจันทร์บนโลก


เงาของดวงจันทร์ที่ตกลงบนโลกมีด้วยกัน 2 ส่วนคือ
1.    เงามัว (Penumbra) เป็นเงาที่อยู่รอบนอก
2.    เงามืด (Umbra) เป็นเงาที่อยู่ด้านใน จึงมืดสนิท
เมื่อเงามัวของดวงจันทร์ตกลงบนผิวโลก เราจะเห็นสุริยะคราสบางส่วนได้ สุริยะคราสแบบนี้อันตรายมากเมื่อมองด้วยตาเปล่า เนื่องจากส่วนของดวงอาทิตย์ที่ไม่ได้โดนบังจะยังคงสว่างอยู่มาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเงามืดของดวงจันทร์กวาดผ่านผิวโลก เราจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ถ้าดวงจันทร์อยู่ไม่ไกลจากโลกมากเกินไป และเราเรียกเส้นทางที่เงามืดพาดผ่านนี้ว่าเส้นทางของคราสเต็มดวง (path of totality) โดยมากจะเป็นระยะทางตามยาวประมาณ 10,000 ไมล์ แต่จะกว้างเพียง 100 ไมล์

รูปแสดงการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง


 
ภาพถ่ายของสุริยุปราคาเมื่อปี 1991


ช่วงเวลาที่เราสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนั้นสั้นมาก นอกจากนั้นโดยมากมักกินเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาสั้น ๆ นั้น เราสามารถเห็นชั้นบรรยากาศโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้ 
ถ้าหากว่าดวงจันทร์อยู่ไกลจากโลกพอสมควร เงามืดจะไม่ตกบนผิวโลก แต่จะเกิดเงาลบ (antumbral) พาดผ่านผิวโลกแทน ทำให้เกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวน และเราเรียกเส้นทางที่เงา antumbral พาดผ่านว่าเส้นทางของ antumbral

รูปแสดงการเกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวน


สุริยุปราคาแบบวงแหวนนี้สามารถอยู่ได้ถึงหลายสิบนาที แต่พื้นที่ที่จะสังเกตได้ก็น้อยลงไปประมาณครึ่งหนึ่งด้วย เนื่องจากการเกิดคราสแบบนี้ ท้องฟ้ายังสว่างอยู่มาก ทำให้เราไม่สามารถเห็นชั้นบรรยากาศโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้

ภาพถ่ายคราสวงแหวนเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2548


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น